วิศวกรรมการคำนวณ – การออกแบบการสั่น อันเนื่องมาจากเครื่องจักร ครั้งที่2

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ตามที่ผมได้รับปากกับเพื่อนๆ เอาไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำเอาเรื่องราวรายละเอียดต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการออกแบบการสั่นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรเอามามาพูดถึงและอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ให้มีความรู้และความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้นและหากจะว่ากันด้วยเรื่องรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องๆ นี้แล้วเนื้อหาทั้งหมดของมันนั้นมีอยู่ด้วยกันค่อนข้างที่จะเยอะมากเลยทีเดียว ดังนั้นเพื่อให้การโพสต์ตลอดก่อนที่จะถึงช่วงปีใหม่นั้นมีความกระชับและได้ประโยชน์สูงสุดผมจึงจะขออนุญาตเลือกหัวข้อที่มีความสำคัญมาก 2 ประเด็นมาพูดถึงนั่นก็คือ
1. รูปแบบของการสั่นสะเทือนและวิธีในการทำการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร
2. รูปแบบและวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักร


เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้พูดถึงหัวข้อที่ 1 เรื่องรูปแบบของการสั่นสะเทือนและวิธีในการทำการตรวจวัดการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร และในสัปดาห์นี้ซึ่งก็คือวันศุกร์ที่ 25 ก็จะถือได้ว่าเป็นวันศุกร์สุดท้ายของปี พ.ศ. 2563 ด้วย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อที่ 2 นั่นก็คือ รูปแบบและวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักร ซึ่งก็จะเป็นการโพสต์จากลาปี พ.ศ. นี้ไปพร้อมๆ กันเพราะในวันศุกร์หน้าก็จะเป็นวันขึ้นปีใหม่แล้วนั่นก็คือวันที่ 1 มกรคาม พ.ศ. 2564 เราจะได้ขึ้นหัวข้อใหม่ๆ กันบ้างน่ะครับ
หากจะทำการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบและวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรเราก็คงจะต้องเริ่มต้นจากค่าที่เราสนใจที่จะได้จากการตรวจวัดก่อน ซึ่งหากเป็นเพื่อนๆ ที่เป็นแฟนเพจขาประจำของคลิปในทุกๆ วันศุกร์ก็น่าที่จะทราบดีอยู่แล้วว่าจะมีทั้งหมด 3 ค่าหลัก ได้แก่
1. ค่าการเสียรูป หรือ DISPLACEMENT จะมีหน่วยเป็น ระยะทาง
2. ค่าความเร็ว หรือ VELOCITY จะมีหน่วยเป็น ระยะทางส่วนด้วยเวลา
3. ค่าความเร่ง หรือ ACCELERATION จะมีหน่วยเป็น ระยะทางส่วนด้วยเวลายกกำลังสอง

สำหรับรายละเอียดต่างๆ ของค่าทั้งสามนั้น เอาไว้ในการโพสต์ครั้งต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาลงรายละเอียดเพิ่มเติมให้ก็แล้วกันเนาะ ทีนี้พอเราทำการตรวจวัดค่าข้างต้นได้แล้วเราก็จะนำเอาค่าต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ในการออกแบบหรือใช้ในการหาวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรต่อไป ซึ่งเราก็คงต้องมาเริ่มต้นทำความรู้จักกันกับรูปแบบของการทำงานของเครื่องจักรเสียก่อนว่าโดยส่วนใหญ่นั้นเครื่องจักรจะก่อให้เกิดการสั่นไหวใน 2 รูปแบบหลักๆ ซึ่งจะได้แก่
1. ค่าสั่นแบบเกิดการบิดตัว หรือ TORSIONAL VIBRATIO
2. การสั่นแบบเกิดการดัดตัว หรือ BENDING VIBRATION

โดยที่การสั่นทั้งสองรูปแบบข้างต้นนั้นมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งในแนวดิ่งและในแนวนอนแยกส่วนกันหรือพร้อมๆ กันก็มีความเป็นไปได้ ซึ่งผลจากการสั่นสะเทือนดังกล่าวนี้นอกจากจะนำมาซึ่งเสียงดังรบกวนและอาจจะก่อให้เกิดความน่ารำคาญในการใช้งานตัวเครื่องจักรแล้ว ผลอีกอย่างหนึ่งที่เราอาจจะไม่ทราบและแน่นอนว่าไม่อยากที่จะให้เกิดขึ้นในชิ้นส่วนของเครื่องจักรด้วยก็คือ พฤติกรรมของความล้า หรือ FATIGUE BEHAVIOR ซึ่งหากขาดการบำรุงรักษาหรือปล่อยเอาไว้นานๆ โดยที่ไม่ทำการแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าว ก็อาจจะนำมาซึ่งการชำรุดและเสียหายของชิ้นส่วนที่มีความสำคัญในการทำงานของตัวเครื่องจักรเลยก็ได้นะครับ

เอาละ สำหรับวิธีแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรกันบ้าง ซึ่งก็ต้องทำการเริ่มต้นจากกรณีของการสั่นกรณีแรกกันก่อนนั่นก็คือ เครื่องจักรนั้นมีค่าสั่นเป็นแบบเกิดการบิดตัว เราก็อาจจะเลือกใช้งาน PASSIVE VIBRATION ABSORBER ในการแก้ปัญหาก็ได้เพราะว่าเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องจักรที่เกิดการบิดตัวโดยตรง ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้ก็จะถูกติดตั้งเข้ากับตัวอุปกรณ์หลักและจะส่งผลทำให้เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้เกิดการสั่นสะเทือนแทนและในที่สุดก็จะทำให้อุปกรณ์หลักนั้นมีการสั่นสะเทือนที่ลดน้อยลงไปหรือหยุดการสั่นสะเทือนได้ในที่สุด ต่อมาสำหรับกรณีของการสั่นกรณีที่สองนั่นก็คือ เครื่องจักรนั้นมีค่าสั่นเป็นแบบเกิดการดัดตัว เราก็อาจจะเลือกใช้งาน DYNAMIC ABSORBER SYSTEM ในการแก้ปัญหาก็ได้เพราะว่าเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นภายในเครื่องจักรที่เกิดการดัดตัวโดยตรงเลย ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ชนิดนี้จะมีความพิเศษตรงที่สามารถที่จะทำหน้าที่ในการลดการสั่นสะเทือนได้ทั้งในแบบดัดตัวและในแบบบิดตัวด้วยเพราะภายในของเจ้าอุปกรณ์ชนิดนี้จะประกอบด้วยสปริงจำนวน 2 ส่วน โดยที่สปริงส่วนแรกนั้นจะทำหน้าที่ในการรับมือกับการสั่นสะเทือนในแนวของการดัดตัวซึ่งเราจะมีชื่อเรียกของสปริงตัวนี้ว่าเป็น สปริงขด หรือ COIL SPRING ซึ่งก็จะมีอยู่ด้วยกันจำนวน 2 อันที่ทำขึ้นจากวัสดุประเภทเหล็กกล้า ส่วนสปริงชุดที่สองนั้นก็จะทำหน้าที่ในการรับมือกับการสั่นสะเทือนในแนวของการบิดตัว ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูปทรงหน้าตัดสี่เหลี่ยมที่ทำขึ้นจากวัสดุประเภทอะลูมิเนียมน่ะครับ

โดยผมจะต้องขออนุญาตออกตัวเอาไว้ก่อนเลยว่า สำหรับวิธีในการที่จะถูกนำเอามาใช้ในการแก้ไขการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเครื่องจักรจริงๆ นั้นควรที่จะต้องดูให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการทำงานของเครื่องจักรเป็นหลักเลย ซึ่งก็อาจจะมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายวิธีการ ซึ่งวิธีการทั้งสองที่ผมได้นำเอามาหยิบยกเป็นตัวอย่างในวันนี้จึงเป็นเพียงแค่วิธีการที่ได้รับความนิยมใช้กันค่อนข้างแพร่หลายตามท้องตลาดในปัจจุบันเท่านั้นและหากบังเอิญว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่อาศัยวิธีการอื่นๆ อยู่ ก็อาจจะนำเอาวิธีการเหล่านั้นมาแชร์เป็นความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนในเพจของเราในใต้โพสต์ๆ นี้ก็ได้นะครับ

ซึ่งผมก็คาดหวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันศุกร์
#ความรู้เรื่องวิศวกรรมการคำนวณ
#การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์
#สรุปขั้นตอนที่มีความสำคัญของการออกแบบการสั่นอันเนื่องมาจากเครื่องจักร
#ครั้งที่2
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com