Spun MicroPile คืออะไร
Spun MicroPile คืออะไร - เป็นเสาเข็มแบบกลม และเสาเข็มแบบสี่เหลี่ยม ซึ่งตรงกลางกลวง มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูงทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูง และเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่น และแข็งแกร่งกว่าคอนกรีต ที่หล่อโดยวิธีธรรมดา เนื่องจากเสามีลักษณะกลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก
Spun MicroPile คืออะไร ก่อนอื่นเลย การที่เราจะทำการตอกเสาเข็ม เราจะต้องทำการเจาะสำรวจดิน (SOIL BORING TEST) เพราะสภาพชั้นดินในหลายพื้นที่ของประเทศไทย อาจมีความแปรปรวนของชั้นดิน ทำให้สภาพพื้นที่แตกต่างไปจากพื้นที่ทั่วไป เช่น มีชั้นทรายหลวมผิดปกติ มีชั้นดินเหนียวอ่อน หรือระดับความลึกของชั้นดินที่แข็งแรงมีความผันแปรสูง เป็นต้น
จากสภาพของชั้นดินดังกล่าว อาจทำให้ฐานรากเกิดการวิบัติได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ก่อนที่วิศวกรจะทำการออกแบบฐานรากให้ดีและเหมาะสมนั้น จึงต้องจัดให้มีการเจาะสำรวจดินอย่างเพียงพอ เพื่อให้การออกแบบสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นไปอย่างละเอียดรอบครอบ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เมื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับดินในส่วนใดแล้ว จะต้องมีการวางแผนการสำรวจดิน เพื่อให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย พร้อมกับได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะดินมีคุณสมบัติที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่ต่างๆ จึงยังไม่มีวิธีใดที่เหมาะสมที่สุดไปกับดินทุกสภาพ
เครื่องมือที่ใช้สำหรับเจาะสำรวจดินในปัจจุบัน แยกได้ 4 ส่วน คือ
1.เครื่องมือเจาะดิน
2.เครื่องมือเก็บตัวอย่างดิน
3.เครื่องมือทดสอบดินในสนาม
4.เครื่องมือทดสอบดินในห้องปฏิบัติการ
แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องมือทดสอบดินในสนามเท่านั้น โดยพิจารณาถึงขอบเขตความสามารถของเครื่องมือเป็นหลัก
-Trial pit test pit เป็นการขุดหลุมโดยใช้แรงคน ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น สามารถขุดได้กับดินที่ไม่แข็งมาก และในความลึกไม่มาก มีการรบกวนดินน้อยสามารถเห็นการเรียงตัวของชั้นดินได้ง่าย แต่อาจจะเจอปัญหาน้ำใต้ดินเวลาที่ขุดลึกกว่า 2 เมตร และถ้าเป็นดินทรายก็อาจจะมีการพังที่หลุมได้ง่ายกว่าดินชนิดอื่นด้วย
-Hand auger borings เป็นเครื่องมือที่ง่ายและอาศัยแรงหมุน Auger และนิยมใช้อยู่สองชนิด คือ Helical auger กับ Iwan หรือ Post-hole auger ใช้เจาะดินที่มีแรงยึดเหนี่ยวหรือดินเหนียวมากๆ สามารถเจาะได้ความลึก 5 – 7 เมตร โดยต่อก้านเหล็ก ขนาดของหลุมเจาะด้วย Auger นี้จะมีขนาดประมาณ 2.5 ถึง 4 นิ้ว
-Mechanical auger borings เป็นการใช้เครื่องจักรสำหรับหมุน Auger ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วและเจาะดินได้ลึกมากขึ้น ระบบการทำงานได้กำลังเจาะมาจากเครื่องยนต์ที่มีกำลังไม่น้อยกว่า 25 แรงม้า หัวเจาะดินขึ้นลงได้ด้วยระบบไฮดรอลิกส์ ซึ่งนิยมกันมากในประเทศไทย
-Shell and auger boring เป็นการเจาะดินด้วย Helical auger ร่วมกับการใช้ท่อ Casing สำหรับดินที่ไม่มีความเชื่อมแน่นเพื่อป้องกันการพังทลายด้านข้างของหลุม ใช้ได้กับดินทุกชนิด นิยมสูบน้ำลงไปในหลุมเพื่อเก็บเศษกรวดและทราย ที่ไหลล้นออกมากับน้ำ
-Continuous-flight auger boring ใช้สำหรับดินเหนียวหรือดินทราย หรือกรวดที่มีเม็ดเล็ก มีลักษณะเป็นเกลียวสว่านติดอยู่รอบก้านเจาะโดยตลอดความยาวของก้านเจาะ นิยมใช้กันโดยทั่วไปเช่นกัน
-Wash boring เป็นการใช้ความดันของน้ำที่มีส่วนผสมกับสารแขวนลอย (Bentonite) ทำให้ดินหลวมและหลุดลอยเป็นเม็ดขึ้นมา ในการผสมใช้สัดส่วนความหนาแน่น 1.1 ถึง 1.2 ตันต่อลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างดินที่ลอยขึ้นมาจะผสมกับน้ำทำให้การนำส่วนที่ตกตะกอนไปวิเคราะห์ได้ผลไม่ละเอียดเท่าที่ควร แต่ก็นิยมใช้กันมากเพราะสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
-Wash probing เป็นการเจาะดินอย่างง่ายๆ โดยใช้น้ำฉีดลงไปดิน ใช้ประโยชน์ในการหา ความเปลี่ยนแปลงของดินอ่อนหรือหลวมไปหาดินที่แน่นแข็ง นิยมใช้กันมากในการตอกเสาเข็มหรือสำรวจหาชั้นหิน สามารถทำงานได้ง่าย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
-Rotary boring or Rotary drilling เป็นการใช้ใบมีดหรือหัวเจาะหมุนลงไปในดิน โดยกำลังของเครื่องยนต์ ทำงานได้เร็ว นิยมใช้สำหรับเจาะหิน แต่ต้องใช้น้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่หัวเจาะที่ก้นหลุมด้านล่าง
-Percussion boring or Percussion drilling เป็นการเจาะที่ต้องอาศัยแรงกระแทกของ Heavy chisel หรือ Spun หรือ Wash boring ในการนำดินขึ้นมาจากหลุม เนื่องเพราะมีแรงกระแทกด้วยของที่หนัก จึงทำให้เป็นการรบกวนตัวอย่างดินในชั้นที่อยู่ลึกลงไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ ความชำนาญในการควบคุมการเจาะในการปล่อยน้ำหนักเพื่อให้รบกวนดินน้อยที่สุด
แหล่งข้อมูล – แผนกช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
Bhumisiam (ภูมิสยาม)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam