การทดสอบเสาเข็ม

การทดสอบเสาเข็ม

ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ
1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST) โดยวิธี SEISMIC TEST
ซึ่งข้อจำกัดของการทดสอบโดยวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกับ เสาเข็มเจาะ หรือ เสาเข็มตอกที่มีจำนวนท่อนเพียง 1 ท่อน เท่านั้น สาเหตุเพราะ ในขั้นตอนของการทดสอบจะอาศัยการสะท้อนของคลื่นที่ถูกส่งผ่านลงไป และให้คลื่นนั้นสะท้อนกลับมา เพื่อทำการอ่านค่า ซึ่งหากเป็นเสาเข็มที่มีจำนวนหลายท่อนต่อแล้วเราจะพบว่าที่รอยต่อของเสเข็มเหล่านั้นจะมีแผ่นเหล็กเชื่อมต่ออยู่ทุกๆ รอยต่อ ดังนั้นพอคลื่นที่เราส่งลงไปเจอแผ่นเหล็กนี้เข้าก็จะสะท้อนกลับมาในทันที ทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบจะไม่ใช่สถานะจริงๆ ที่เสาเข็มนั้นควรจะเป็น

การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็มด้วยวิธีการ SEISMIC TEST นี้มีจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของตัวโครงสร้างของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ จึงถือว่ามีความเหมาะสม และเป็นที่นิยมใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ในขั้นต้น (PRELIMINARY TEST) หากว่าทำการตรวจสอบแล้วพบว่าเสาเข็มนั้นมีสภาพที่บกพร่องขึ้น จึงค่อยทำการกำหนดวิธีการทดสอบอื่น ๆ ประกอบกับพิจารณา หรือ ดำเนินการซ่อมแซมตัวโครงสร้างเสาเข็มเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่อไป การทดสอบนี้จะระบุถึงข้อบกพร่องต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น รอยแตกร้าว (CRACK) โพรง หรือช่องว่าง (VOID) รอยคอด (SIZE REDUCTION) หรือบวม (SIZEINCREASE) ของตัวโครงสร้างของเสาเข็มได้ เป็นต้น

2. การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม (PILE LOAD TEST)
ทำได้ด้วย 2 วิธีหลักๆ คือ การทดสอบการรับน้ำหนักด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST) และ การทดสอบการรับน้ำหนักด้วยวิธีสถิตศาสตร์ (STATIC LOAD TEST)

หากว่าเสาเข็มของเราเป็นเสาเข็มตอกหลายท่อนต่อกัน และเสาเข็มอาจเกิดความไม่สมบูรณ์ขึ้น จนไม่สามารถใช้วิธีการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งเป็นวิธีการโดยตรงได้ แต่ยังสามารถใช้วิธีการทางอ้อมในการทดสอบเสาเข็มแทนได้ เช่นการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิธีพลศาสตร์ก็ได้ เพราะในการทดสอบโดยวิธีการนี้ ผลจากการทดสอบจะสามารถอ่านค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็มได้ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเสาเข็มมีความสมบูรณ์ดีหรือไม่ และทราบค่าการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้นอยู่ในเกณฑ์ตามที่ได้ออกแบบเอาไว้หรือไม่ ดังนั้นข้อเสียของการทดสอบด้วยวิธีการนี้จะมีมูลค่าที่สูงกว่าการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มที่ทำกันทั่วๆไป เป็นต้น

Miss Spunpile 

Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam