ชนิดและประเภทของระบบของโครงสร้างแผ่นพื้น – แผ่นพื้นไม้เทียม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันจันทร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

เนื่องจากเมื่อช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นผมเคยได้นำเอาเรื่องชนิดและประเภทของระบบของโครงสร้างแผ่นพื้นมาแชร์เป็นความรู้กับเพื่อนๆ ทุกครั้งที่ผมมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ก่อสร้างใดๆ ก็ตามแต่ผมก็พยายามที่จะเก็บและนำเอารูปถ่ายจากโครงสร้างจริงๆ เอามาฝากกับเพื่อนๆ ซึ่งในวันนี้ก็เช่นกัน เนื่องด้วยผมบังเอิญมีโอกาสได้ผ่านไปยังห้างคอมมิวนิตี้มอลล์แห่งหนึ่งซึ่งบริเวณด้านหน้าของห้างแห่งนี้มีการติดตั้งระบบแผ่นพื้นๆ หนึ่งเข้าไปบนโครงสร้าง ซึ่งเจ้าระบบแผ่นพื้นนี้ผมยังไม่เคยได้นำเอาอธิบายกับเพื่อนๆ นะแต่เป็นเพราะผมเห็นว่ามีความน่าสนใจดี ผมจึงตัดสินมจที่จะบันทึกภาพไว้และนำเอามาฝากกับเพื่อนๆ ในวันนี้ครับ


ระบบของแผ่นพื้นที่ว่านี้ก็คือ ระบบแผ่นพื้นไม้เทียม ซึ่งเจ้าระบบแผ่นพื้นชนิดนี้จะมีความน่าสนใจตรงที่ สามารถที่จะใช้งานเป็นแผ่นพื้นในงานโครงสร้างก็ได้ หรือ จะใช้งานเป็นแผ่นพื้นในงานสถาปัตยกรรมก็ได้ ซึ่งการเลือกใช้งานนั้นก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมขององค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆ ที่มีอยู่นั่นเองครับ

โดยปกติแล้วไม้เทียมนั้นจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น ไม้เทียมที่ทำหน้าที่เป็นฝาผนังของอาคาร หรือ ไม้เทียมที่ทำหน้าที่เป็นพื้นทั่วๆ ไปและเป็นพื้นบันไดของอาคารซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะมีลักษณะของหน้าตัดตัน หรือ ไม้เทียมที่ทำหน้าที่เป็นระแนงของอาคารซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะมีลักษณะของหน้าตัดกลวง เป็นต้น ซึ่งก็มักจะถูกผลิตขึ้นมาโดยประกอบไปด้วยวัสดุหลักตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป เช่น วัสดุไม้ ซึ่งถือได้ว่าวัสดุตั้งต้นที่ใช้ในการผลิต และ วัสดุที่ถูกนำเอามาใช้ในการผสมเพิ่มเพื่อให้ไม้เทียมนั้นมีคุณสมบัติต่างๆ ที่โดดเด่นขึ้นมาเป็นพิเศษ เป็นต้น ซึ่งโดยปกติทั่วๆ ไปนั้นไม้เทียมนั้นจะถือได้ว่ามีคุณสมบัติที่ดีมากๆ หลายประการเลย อาทิเช่น ไม้เทียมนั้นจัดได้ว่าเป็นวัสดุประเภทสำเร็จรูป สามารถนำมา ตัด หรือ ต่อ และพร้อมสำหรับการใช้งานได้แทบจะในทันทีเลย หรือ ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะถูกรบกวนด้วยปลวก หรือ ไม่จำเป็นต้องทำสีเพื่อเก็บผิวของชิ้นงาน กล่าวคือสามารถที่จะใช้ผิวเดิมๆ ของตัวไม้เทียมนี้แหละเป็นส่วนที่จะเปิดออกสู่ภายนอกได้เลย นอกนั้นก็ยังถือได้ว่ายังมีข้อดีอีกหลายประกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ถูกคัดเลือกนำเอามาใช้ในการผสมเพิ่ม หรือ แม้แต่คุณสมบัติที่ผิวนั้นจะไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา หรือ ไม่ก่อให้เกิดการลุกลามของเพลิงไหม้ ซึ่งบางชนิดก็มีคุณสมบัติของความความคงทนในทุกๆ สภาพอากาศเพิ่มเติมเข้าไปด้วย เป็นต้นนะครับ

ทั้งนี้หากเพื่อนๆ จะเลือกใช้งานวัสดุประเภทไม้เทียมเพื่อนำมาใช้ในงานโครงสร้างหรือสถาปัตยกรรมก็สุดแท้แต่ความสะดวกของเพื่อนๆ ได้เลย แต่ สิ่งที่ผมอยากจะขอเน้นย้ำในโพสต์ๆ นี้เป็นพิเศษนั่นก็คือ ขอให้เพื่อนๆ นั้นใช้งานวัสดุไม้เทียมนี้อย่าง ถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตนั้นได้ให้คำแนะนำเอาไว้ในคู่มือของสินค้า เช่น หากเป็นการนำมาใช้ในงานโครงสร้าง เพื่อนๆ ควรที่จะต้องทำการกำหนดให้ใช้ระยะห่างของโครงสร้างตงไม่เกินระยะทางผู้ผลิตนั้นได้ให้คำแนะนำเอาไว้ หรือ ควรจะต้องทำการยึดลงไปในจุดรองรับด้วยปริมาณและวิธีการยึดของตะปูเกลียวที่ถูกต้อง โดยหากเป็นการนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมก็ควรที่จะทำการเก็บผิวให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ๆ มีการใช้งานเพราะถึงแม้หลายๆ ครั้งเรามักจะได้ยินประโยคในทำนองว่า เราไม่จำเป็นต้องทำสีเพื่อเก็บผิวของชิ้นงาน หรือ สามารถที่จะใช้ผิวเดิมๆ ของตัวไม้เทียมนี้แหละเป็นส่วนที่จะเปิดออกสู่ภายนอกได้เลย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการทำแบบนี้จะเป็นการทำให้อายุการใช้งานของวัสดุประเภทนี้มีความคงทนถาวรแต่อย่างใด มันอาจจะพอใช้งานได้โดยไม่เกิดผลกระทบใดๆ ในช่วงเวลาแรกๆ เพียงเท่านั้นแต่เมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะเกิดการเสื่อมสภาพลงไปในที่สุด เป็นต้นครับ

จากในรูปที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ก็เช่นกัน จะเห็นได้ว่าแผ่นพื้นไม้เทียมในรูปเหล่านี้เกิดความเสียหายขึ้นไม่น้อยเลย ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่ามองมากๆ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ก็เป็นเพราะสาเหตุหลายๆ ประการด้วยกัน เช่น จะเห็นได้ว่ามีการเลือกใช้งานลักษณะและรูปทรงของหน้าตัดให้เป็นแบบกลวง ซึ่งการทำเช่นนี้ก็จะส่งผลโดยตรงทำให้คุณสมบัติทางด้านความแข็งแรงและคงทนของวัสดุเองนั้นมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าการเลือกใช้งานหน้าตัดที่เป็นแบบตัน หรือ วิธีในการทำการยึดลงไปบนจุดรองรับนั้นยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมเพียงพอ อีกทั้งยังขาดการป้องกันผิวที่ถูกต้องและเหมาะสมด้วย เพราะจะเห็นได้ว่าที่บริเวณผิวภายนอกนั้นไม่ได้มีการทาด้วยสีที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเลย ทำให้ผิวนั้นเกิดการแยกและแตกออกอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน สุดท้ายแล้วทุกๆ ข้อที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แผ่นพื้นไม้เทียมในรูปเหล่านี้เกิดการแตก บิด และ งอขึ้น โดยจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนได้ด้วยตาเปล่าเลยนะครับ

ซึ่งต้องนับว่าเป็นเรื่องของความโชคดีก็ว่าได้ที่แผ่นพื้นไม้เทียมในรูปเหล่านี้ถูกเลือกนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมแทนที่จะเป็นงานโครงสร้าง เพราะหากถูกนำเอามาใช้ในงานโครงสร้างจริงๆ แล้วละก็ ตัวแผ่นไม้เทียมเหล่านี้จะต้องทำหน้าที่ในการแบกรักภาระที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับน้ำหนักต่างๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวโครงสร้างไม้เทียมมากกว่าที่เห็นได้จากในรูปเหล่านี้อย่างแน่นอนนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันจันทร์
#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง
#แผ่นไม้เทียม
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam