เทคนิคการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ หรือ FINITE ELEMENT ANALYSIS

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันศุกร์ (แห่งชาติ) แบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้มาพูดคุยและเสวนากันถึงหัวข้อ “ฝากคำถาม-เราจะมาตอบให้” นะครับ

สืบเนื่องมาจากการที่มีรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งเค้าคงจะทราบมาว่าตัวผมนั้นเป็นสามัญวิศวกรโยธาที่ทำงานทางด้านการออกแบบและการเสริมกำลังให้แก่โครงสร้างมาก็ไม่น้อย เค้าจึงได้ฝากคำถามสั้นๆ แต่ได้ใจความเข้ามาคำถามหนึ่งในทำนองว่า อยากให้ผมให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ หรือ FINITE ELEMENT ANALYSIS หรือเขียนสั้นๆ ว่า FEA เวลาที่ผมจะต้องทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างงานใดๆ ก็ตาม ซึ่งพอผมเจอกับคำถามๆ นี้ผมก็นั่งคิดคำตอบอยู่ครู่หนึ่งเพราะเอาเข้าจริงๆ นั้นเทคนิคเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้มีอยู่มากมายหลากหลายประการมากๆ แต่เอาเป็นว่าในวันนี้ผมขอเริ่มต้นจากเทคนิคๆ หนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้เลยแต่ก็ต้องขออนุญาตออกตัวไว้ก่อนเลยว่า เทคนิคที่ผมจะนำเอามาฝากนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวเพียงเท่านั้น สุดท้ายใครจะจดจำและนำไปใช้ก็สุดแท้แต่วิศวกรแต่ละท่านได้เลยนะครับ

จริงๆ แล้วเทคนิคที่ผมตั้งใจจะนำเอามาอธิบายในวันนี้ก็จะมีความต่อเนื่องมาจากโพสต์ของเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือ การออกคำสั่งในการทำการออกแบบหน้าตัดของโครงสร้างคาน คสล โดยอาศัยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเม้นต์ ซึ่งหากเพื่อนๆ รับชมคลิปของผมเมื่อในสัปดาห์ที่แล้ว รวมถึงโพสต์ของผมเมื่อวันเสาร์ วันอาทิตย์ รวมถึงวันพุธที่ผ่านมาด้วย เพื่อนๆ น่าที่จะพอเข้าใจแล้วว่าเพราะเหตุใดผมจึงได้ทำการหยิบยกนำเอาประเด็นๆ นี้มาพูดถึงและทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ น่ะครับ
คำสั่งนี้มีชื่อว่าคำสั่ง MFACE ซึ่งจะทำการอ้างอิงไปที่มาตรฐานการออกแบบงานคอนกรีตเสริมเหล็กของประเทศอินเดียหรือ INDIAN CODES หรือที่พวกเรานิยมเรียกกันโดยชื่อย่อว่า IS456 ซึ่งหากเราออกคำสั่งให้ซอฟต์แวร์นั้นทำงานโดยใช้คำสั่งๆ นี้ตัวซอฟต์แวร์ก็จะทำการออกแบบหน้าตัดของเหล็กเสริมหลักที่ทำหน้าที่ในการรับแรงโมเมนต์ดัด ณ ตำแหน่งที่เราเลือกทำการออกแบบโดยใช้คำสั่ง SFACE และ EFACE ซึ่งก็คือหน้าตัดวิกฤติสำหรับคิดคำนวณค่าแรงเฉือนเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบหน้าตัดที่บริเวณ “จุดเริ่มต้น” และ “จุดสิ้นสุด” ของชิ้นส่วนนะครับ

ทั้งนี้ให้เพื่อนๆ ทำการเลือก TAB การออกแบบหรือ DESIGN TAB จากนั้นก็ไปเลือกช่อง CURRENT CODE ให้เป็น IS456 จากนั้นก็ทำการเลือกกดปุ่ม DEFINE PARAMETERS เมื่อเพื่อนๆ เลือกคำสั่ง MFACE เสร็จขั้นตอนสุดท้ายก็คือ กดเลือกข้อ (1) เพื่อให้เจ้าซอฟต์แวร์ STAAD.PRO นั้นได้การออกแบบหน้าตัดของเหล็กเสริมหลักที่ทำหน้าที่ในการรับแรงโมเมนต์ดัด ณ ตำแหน่งที่เราได้เลือกทำการออกแบบนั่นเองครับ

ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นสไตล์หรือวิธีการออกแบบโดยส่วนตัวของผมๆ ก็จะออกคำสั่งให้เจ้าซอฟต์แวร์ STAAD.PRO นั้นทำการออกแบบหน้าตัดของโครงสร้างคานออกมาเลยแต่ผมจะไม่ได้เชื่อถือรายละเอียดของเหล็กเสริมซึ่งได้จากการออกแบบโดยซอฟต์แวร์ ผมจะต้องนำเอาข้อมูลที่เป็นแรงภายในหรือ INTERNAL FORCE ต่างๆ ที่ได้จากการทำการวิเคราะห์โครงสร้างนำไปทำการออกแบบด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นการคำนวณบนกระดาษหรือจะทำบนซอฟต์แวร์จำพวก SPREADSHEET ก็แล้วแต่ความสะดวกและชิ้นส่วนโครงสร้างที่ผมต้องการที่จะทำการออกแบบ สุดท้ายผมก็จะนำเอาผลจากการออกแบบที่เจ้าซอฟต์แวร์ STAAD.PRO นั้นให้ออกมานั้นไปเปรียบเทียบกันกับผลจากการคำนวณด้วยตัวของผมเอง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการตรวจสอบหรือ RECHECK ผลจากการทำงานออกแบบของผมเอง เช่น ผลจากการออกแบบของผมนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างออกไปจากผลที่ได้จากการออกแบบโดยอาศัยซอฟต์แวร์มากหรือน้อยเพียง หรือ เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น หรือ คำตอบหรือคำอธิบายของเหตุผลเหล่านั้นคืออะไร เป็นต้น

ซึ่งโดยความคิดเห็นส่วนตัวของผมๆ มองว่า วิศวกรโครงสร้าง หรือ นักออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง ที่ดีนั้น ควรที่จะต้องทำการตั้งคำถามกับงานออกแบบของตัวเองให้มากๆ เช่น เหตุใดพฤติกรรมของโครงสร้างทีได้มาจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยใช้ซอฟต์แวร์จึงแสดงค่าและผลต่างๆ ออกมาเป็นเช่นนี้ ลักษณะและพฤติกรรมต่างๆ ที่โครงสร้างนั้นแสดงผลออกมานั้นมีความปกติหรือมีความผิดปกติออกไปจากลักษณะหรือพฤติกรรมตามปกติของโครงสร้างใช่หรือไม่ เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ควรที่จะสามารถให้คำตอบหรือคำอรรถาธิบายเกี่ยวกับคำถามต่างๆ เหล่านี้ให้ได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเวลาที่โครงสร้างของเรานั้นกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่หรืออาจจะได้ทำการก่อสร้างเสร็จไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วิศวกรผู้ออกแบบควรที่จะทราบได้ว่า หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ กับชิ้นส่วนๆ ใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างไป จะส่งผลและจะทำให้เกิดผลที่ตามในลักษณะใดบ้างและที่สำคัญก็คือ ควรที่จะมีวิธีในการดำเนินการแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ของงานวิศวกรรมโครงสร้างอย่างไรได้บ้างเพื่อให้ผลเสียที่เกดขึ้นนั้นหมดไปหรืออย่างน้อยก็ลดน้อยลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเองครับ

ในการโพสต์ในครั้งหน้าผมจะนำเอาเทคนิคข้อใดมาอธิบายต่อเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์ ก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความของผมกันได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันศุกร์
#ฝากคำถามแล้วเราจะมาตอบให้
#เทคนิคในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยไฟไนต์อีลีเม้นต์
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com