วิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม – การทดสอบดิน หรือ SOIL TEST

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

หากว่าเพื่อนๆ มีความสงสัยว่า หากเรามีความต้องการที่จะทำโครงสร้างที่จะถูกวางตัวลงไปบนดินโดยตรง หรือ GRADED STRUCTURE เราจะมีวิธีอย่างไรในการที่จะทราบได้ว่า ดินข้างใต้ที่จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักโครงสร้างนั้นๆ จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใด วันนี้ผมมีคำแนะนำขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ


วิธีการที่ผมจะให้คำแนะนำในวันนี้ก็คือ ให้ทำการทดสอบดิน หรือ SOIL TEST ใช่แล้ว ในการที่เราจะทราบว่าดินในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นสามารถที่จะทำการประเมินได้จากผลการทดสอบดินในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ นั่นก็คือเราจะสามารถทำการพิจารณาเรื่องๆ นี้ได้จาก
(1) ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน หรือ WATER CONTENT
(2) ค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำ หรือ UNDRAINED SHEAR STRENGTHเรามาเริ่มต้นกันที่ค่าอัตราส่วนของน้ำในดินกันก่อน ทั้งนี้หลักการในการพิจารณาจากค่าๆ นี้จะทำได้ค่อนข้างง่ายเลยนั่นก็คือ ทำการพิจารณาว่าค่าเฉลี่ยของ ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน ของชั้นดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร นั้นจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ใช่หรือไม่ หากว่าคำตอบคือ ใช่ นั่นก็หมายความว่าดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้อย่างรวดเร็วและก็มากด้วยแต่หากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ก็ยังมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้อยู่แต่ก็จะค่อยๆ เกิดแบบช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป สุดท้ายหากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่น้อยกว่าร้อยละ 50 แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวที่น้อยมากๆ เลยละครับ

นอกจากจะทำการพิจารณาถึง ค่าอัตราส่วนของน้ำในดิน แล้วเพื่อให้เกิดความมั่นใจเพิ่มขึ้นไปอีก เราจึงควรที่จะต้องทำการพิจารณาถึงค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำด้วย โดยเรามาทบทวนกันกับส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกันกับค่าหน่วยแรงเฉือนแบบไม่ระบายน้ำหรือที่เราอาจจะเรียกแทนว่าค่า UC หรือ c หรือ Su ก็ได้กันก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยได้แชร์ความรู้ไปก่อนหน้านี้แล้วว่าค่าๆ นี้จะมีค่าเท่ากับ “ครึ่งหนึ่ง” ของ ค่าหน่วยแรงอัดแบบไม่โอบรัด หรือ UNCONFINED COMPRESSIVE STRENGTH หรือค่า qu หรือเขียนง่ายๆ ในรูปของสมการได้ว่า
UC = c = Su = qu /2ซึ่งต่อไปผมจะขอเรียกค่านี้ว่าค่า Su ก็แล้วกันและหากว่าเราทราบว่าค่าคุณสมบัติของดิน ค่า N VALUE เราก็จะสามารถทำการคำนวณจะหาค่า Su นี้ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างสองค่านี้ได้เช่นกันนั่นก็คือ
Su = 5/8 N = 0.625 N

ซึ่งหากเราไปดูรูปที่ 1 ซึ่งเป็นแผนภูมิที่แสดงผลจากการทำการทดสอบดินเราจะพบว่า ที่ตำแหน่งของดินที่เริ่มจะมีค่า N VALUE ทางขวามือของตารางในช่องของ Su นั้นจะไม่ได้แสดงแล้ว แต่ ไม่ได้หมายความว่าค่า Su นี้ไม่มีนะแต่เกิดจากการที่การเก็บตัวอย่างดินแบบไม่ถูกรบกวน หรือ UNDISTURBED SOIL SAMPLE ที่ระดับของดินที่ชั้นความลึกนี้จะค่อนข้างทำได้ยากเพราะดินนั้นค่อนข้างจะมีความแข็งมากกว่าที่ระดับของดินชั้นด้านบนแล้ว จึงไม่สามารถที่จะทำการทดสอบออกมาได้ ดังนั้นที่ระดับความลึกดังกล่าวนั้นเราก็ยังจะสามารถที่จะทำการคำนวณหาค่า Su นี้จากค่า N VALUE ได้อยู่ดีเพียงแต่ว่าค่า Su ในดินที่ระดับความลึกนี้จะมีค่าที่ค่อนข้างจะสูงมากจนเกินค่าที่เราสนใจไปมากแล้วน่ะครับ

ทั้งนี้หากจะทำการสรุปหลักการง่ายๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการประเมินว่าดินในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใดก็คือ ทำการตรวจสอบจากผลการทดสอบดินจากตารางในรูปที่ 2 ว่า ชั้นดินตั้งแต่ระดับผิวดินลึกลงไปจนถึงที่ระดับดินประมาณ 10 เมตร นั้นมีค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวอ่อนมาก หรือ VERY SOFT CLAY ซึ่งก็คือค่า Su ที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.25 ตัน/ตร.ม ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 ตัน/ตร.ม หรืออาจจะดีขึ้นมาหน่อยก็คือค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวอ่อน หรือ SOFT CLAY ซึ่งก็คือค่า Su นั้นจะมีค่าที่มากกว่า 1.25 ตัน/ตร.ม แต่ก็ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.50 ตัน/ตร.ม ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่มากกว่า 2.50 ตัน/ตร.ม แต่ก็ยังน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5.00 ตัน/ตร.ม ใช่หรือไม่ หากว่าใช่ นั่นก็หมายความว่าดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวได้มากแต่หากว่าดินภายในระดับความลึกดังกล่าวนั้นมีค่าเฉลี่ยมีผลออกมาเป็น ดินเหนียวปานกลาง หรือ MEDIUM CLAY ซึ่งก็คือค่า Su นั้นมีค่าที่มากกว่า 2.5 ตัน/ตร.ม ขึ้นไป ซึ่งหากจะเทียบออกมาเป็นค่า qu ก็ได้ ซึ่งก็จะมีค่า qu ที่มากกว่า 5.00 ตัน/ตร.ม แล้วละก็ ดินก็จะมีโอกาสที่จะเกิดค่าการทรุดตัวที่ค่อนข้างจะน้อยนั่นเองครับ

ทั้งนี้ผมต้องขอหมายเหตุไว้ตอนท้ายนี้ด้วยว่า การประเมินจากคุณสมบัติของดินตามวิธีการข้างต้นนั้นจะใช้ได้เฉพาะกับกรณีของดินที่มีการรับน้ำหนักชนิดทั่วๆ ไปเท่านั้น ซึ่งจะไม่รวมถึงกรณีของดินที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น ดินที่มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมากๆ หรือ ดินที่ได้รับผลกระทบจากการรับน้ำหนักหรือการก่อสร้างจากสถานที่ใกล้เคียง เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#การประเมินว่าดินนั้นจะมีโอกาสที่จะเกิดการทรุดตัวได้มากหรือน้อยเพียงใดจากการพิจารณาผลการทดสอบของดิน
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com