ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


จากรูปที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้จะแสดงให้เห็นถึงแบบแปลนของโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 2 ต้น หรือ F2 ในการรับน้ำหนักแต่ผลจากการตอกเสาเข็มก็พบว่า มีโครงสร้างเสาเข็มจำนวน 1 ต้นที่หักไป ทำให้เราไม่สามารถที่จะใช้โครงสร้างเสาเข็มต้นนี้ในการรับน้ำหนักของโครงสร้างได้ หากผมเป็นผู้ออกแบบและได้ทำการตั้งสมมติฐานในการออกแบบฐานรากต้นนี้ว่า เป็นจุดรองรับอย่างง่ายหรือว่า PINNED SUPPORT ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักที่เป็นแรงกระทำตามแนวแกนที่ถูกถ่ายผ่านมาจากโครงสร้างเสาตอม่อโดยที่จะไม่มีแรงโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นเลย คำถามในวันนี้ก็มีความง่ายดายสุดๆๆๆๆ เลยนั่นก็คือ หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรที่ต้องทำการควบคุมการทำงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนจะเลือกทำการตอกเข็มแซมให้เป็นไปตามรูปใด ระหว่างรูป (A) หรือรูป (😎 จึงจะเป็นการดีที่สุดต่อโครงสร้างฐานราก F2 ต้นนี้ครับ ?

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำการวิเคราะห์หากันว่า หากเพื่อนๆ จะต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรซึ่งต้องทำการควบคุมการทำงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนจะเลือกทำการตอกเข็มแซมให้เป็นไปตามรูปใดพร้อมๆ กันเลยนะครับ

เริ่มแรกเลยเรามาดูเงื่อนไขของโครงสร้างฐานรากกันก่อนเลย ผมได้ระบุว่า ฐานรากต้นนี้จะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักที่เป็นแรงกระทำตามแนวแกนที่ถูกถ่ายผ่านมาจากโครงสร้างเสาตอม่อโดยที่จะไม่มีแรงโมเมนต์ดัดเกิดขึ้นเลย ดังนั้นไม่ว่าเราจะวางตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มตามรูป (A) หรือ (😎 ก็จะไม่มีผลใดๆ ต่อเรื่องเสถียรภาพในการรับกำลังของโครงสร้างฐานรากของเราเลยนะครับ

ต่อมาก็คือ ผมจะทำการพิจารณาถึงเรื่องคุณสมบัติทางด้านความสมมาตรของโครงสร้างเสาเข็มบ้าง ซึ่งก็พบว่า โครงสร้างเสาเข็มตามรูป (A) หรือ (😎 นั้นต่างก็มีรูปแบบของการวางตัวที่มีความสมมาตรเหมือนๆ กัน อย่างรูป (A) ถึงแม้ว่ากรณีนี้เราจะไม่ได้อาศัยโครงสร้างเสาเข็มต้นที่สามารถใช้ได้แต่อาศัยวิธีในการหมุนฐานรากไปเป็นมุม 90 องศา ในที่สุดโครงสร้างฐานรากใหม่ของเราก็จะยังคงเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 2 ต้น และก็ยังคงคุณสมบัติเรื่องความสมมาตรของโครงสร้างฐานรากเอาไว้อยู่ ส่วนรูป (😎 สำหรับกรณีนี้เราจะอาศัยโครงสร้างเสาเข็มต้นที่สามารถใช้ได้และก็ทำการตอกเสาเข็มให้เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 2 ต้น ในที่สุดโครงสร้างฐานรากใหม่ของเราก็จะถูกเปลี่ยนทำให้เป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น และก็ยังคงคุณสมบัติเรื่องความสมมาตรของโครงสร้างฐานรากเอาไว้ได้เช่นกันนะครับ

ข้อสุดท้ายก็คือเรื่อง MARGIN ในการเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มบ้าง จากที่เราพิจารณาในข้อก่อนหน้านี้ว่า สำหรับกรณี (A) ที่โครงสร้างฐานรากใหม่นั้นจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 2 ต้น ส่วนกรณี (😎 ที่โครงสร้างฐานรากใหม่นั้นจะเป็นโครงสร้างฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 3 ต้น ดังนั้นแน่นอนว่า MARGIN ของเสาเข็มสำหรับในกรณี (😎 จึงมีมากกว่ากรณี (A) อย่างแน่นอนนะครับ

สรุปหลังจากที่เราได้ทำการพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากเพื่อนๆ ต้องทำหน้าที่เป็นวิศวกรซึ่งต้องทำการควบคุมการทำงานในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อนก็ควรที่จะเลือกทำการตอกเข็มแซมให้เป็นไปตามรูปในกรณี (😎 เพราะว่ากรณีนี้โครงสร้างฐานรากของเราจะยังคงคุณสมบัติในเรื่องของความมีเสถียรภาพในการรับกำลังที่ดี อีกทั้งยังมีคุณลักษณะของโครงสร้างเสาตอม่อ โครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มที่มีความสมมาตรที่ดีอีกด้วย สิ่งสุดท้ายที่เราได้นำมาพิจารณาและได้เลือกใช้งานเป็นกรณีนี้ก็คือ กรณีนี้โครงสร้างฐานรากใหม่นั้นจะเป็น F3 ซึ่งจะส่งผลทำให้มี MARGIN ในโครงสร้างเสาเข็มที่มากกว่าการเลือกเป็นกรณี (A) ซึ่งโครงสร้างฐานรากใหม่นั้นจะเป็นเพียงแค่ F2 ค่อนข้างที่จะมากเลยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการเลือกวิธีในการตอกเสาเข็มแซมในโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com