การออกแบบโครงสร้างฐานรากแบบแผ่ หรือ BEARING STRUCTURAL FOUNDATION

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เนื่องจากเมื่อประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีน้องที่เป็นแฟนเพจของผมท่านหนึ่งได้สอบถามผมเข้ามาผ่านทางช่องทางอินบ็อกซ์ส่วนตัวของผมเกี่ยวกับเรื่อง การออกแบบโครงสร้างฐานรากแบบแผ่ หรือ BEARING STRUCTURAL FOUNDATION ซึ่งเราก็ได้สนทนากันในหลายๆ ประเด็นเลย หนึ่งในประเด็นที่มีความน่าสนใจก็คือคำถามของน้องท่านนี้ที่ได้สอบถามเข้ามาว่า เพราะเหตุใดในเขต กทม และปริมณฑลเราจึงไม่นิยมทำการกออกแบบให้ระบบโครงสร้างฐานรากนั้นเป็น โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ ผมจึงได้ทำการรับปากกับน้องท่านนี้เอาไว้ว่า ผมจะนำเอาตัวอย่างง่ายๆ สั้นๆ สักหนึ่งตัวอย่างเอามาทำการคำนวณให้น้องท่านนี้และเพื่อนๆ ได้ดูนะครับ


ก่อนอื่นผมขอสมมติปัญหาก่อนก็แล้วกันนะ เริ่มจากน้ำหนักบรรทุกที่จะถูกถ่ายมาลงยังตอม่อก่อน ซึ่งผมจะทำการสมมติให้มีน้ำหนักบรรทุกใช้งานซึ่งจะมีเฉพาะเพียงแค่ แรงกระทำตามแนวแกน หรือ AXIAL LOAD กระทำในตอม่อเท่ากับ 25 ตัน เพียงเท่านั้น ซึ่งค่าๆ นี้ก็จะมีความใกล้เคียงกันกับกรณีที่เราทำการออกแบบให้ระบบของโครงสร้างฐานรากนั้นเป็น โครงสร้างฐานรากแบบใช้เสาเข็ม หรือ ON PILE STRUCTURAL FOUNDATION ที่ใช้จำนวนของโครงสร้างเสาเข็มเท่ากับ 1 ต้น หรือ F1 ต่อมาผมจะทำการเปรียบเทียบระหว่าง 2 กรณีด้วยกันนั่นก็คือ

กรณีที่ 1 ซึ่งจะเป็นกรณีของการออกแบบให้ระบบโครงสร้างฐานรากนั้นเป็น โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ โดยที่จะสมมติว่าทำเลที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้างนั้นจะอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกแบบแผ่ปลอดภัยเท่ากับ 20 ตัน/ตารางเมตร นะครับ

กรณีที่ 2 ซึ่งจะเป็นกรณีของการออกแบบให้ระบบโครงสร้างฐานรากนั้นเป็น โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ โดยที่จะสมมติว่าทำเลที่ตั้งของสถานที่ก่อสร้างนั้นจะอยู่ใน กทม ซึ่งจะมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกแบบแผ่ปลอดภัยเท่ากับ 2 ตัน/ตารางเมตร นะครับ

เนื่องจากน้ำหนักบรรทุกในตอม่อนั้นจะมีเฉพาะแค่ ค่าแรงกระทำตามแนวแกน เพียงเท่านั้น เราจึงจะทำการคำนวณออกแบบให้ขนาดของ ค่าความกว้าง หรือ B และ ค่าความยาว หรือ L ของโครงสร้างฐานรากแบบแผ่ให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นค่า B จึงจะมีค่าเท่ากับค่า L เพราะฉะนั้นหากเราให้ ค่าแรงกระทำตามแนวแกน มีค่าเท่ากับ P ส่วนค่าความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกแบบแผ่ปลอดภัย มีค่าเท่ากับ qa สุดท้ายเราจะสามารถทำการคำนวณขนาดของค่าความกว้างน้อยที่สุดที่โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ของเรานั้นจะต้องมีจากการคำนวณด้วยสมการง่ายๆ ดังนี้
B = √(P/qa)

โดยที่ผมจะขออนุญาตเริ่มต้นทำการออกแบบกรณีที่ 1 ก่อนนะ ซึ่งผมก็จะแทนค่า P ลงไปในสมการให้มีค่าเท่ากับ 25 ตัน และ ค่า qa ให้มีค่าเท่ากับ 20 ตัน/ตารางเมตร ซึ่งก็จะพบว่า ขนาดของค่าความกว้างน้อยที่สุดที่โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ของเรานั้นจะมีค่าเท่ากับ
B1 = √( P/qa1)
B1 = √(25/20)
B1 = 1.11 m
B1 ≈ 1.20 m

ดังนั้นขนาดของพื้นที่ใต้โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ก็จะมีค่าเท่ากับ
A1 = B1^(2)
A1 = 1.2^(2)
A1 = 1.44 SQ.M

ต่อมาผมก็จะทำการออกแบบกรณีที่ 2 กันต่อเลยนะ ซึ่งผมก็จะแทนค่า P ลงไปในสมการให้มีค่าเท่ากับ 25 ตัน และ ค่า qa ให้มีค่าเท่ากับ 2 ตัน/ตารางเมตร ซึ่งก็จะพบว่า ขนาดของค่าความกว้างน้อยที่สุดที่โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ของเรานั้นจะมีค่าเท่ากับ
B2 = √(P/qa1)
B2 = √(25/2)
B2 = 3.54 m
B2 ≈ 3.60 m

ดังนั้นขนาดของพื้นที่ใต้โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ก็จะมีค่าเท่ากับ
A2 = B2^(2)
A2 = 3.6^(2)
A2 = 12.96 SQ.M

ซึ่งผลจากการคำนวณก็จะพบว่า เฉพาะเพียงแค่ขนาดของค่าความกว้างของโครงสร้างฐานรากแบบแผ่เพียงเท่านั้น โดยที่ยังไม่รวมถึงประเด็นอื่นๆ เช่น ขนาดของค่าความหนา ปริมาณเหล็กเสริมที่จะต้องใช้ในการเสริมอยู่ภายในฐานราก เป็นต้น ขนาดของพื้นที่ใต้โครงสร้างฐานรากแบบแผ่ในกรณีที่ 2 ก็จะมีค่ามากกว่าที่ทำการคำนวณออกมาได้จากกรณีที่ 1 มากถึงประมาณ 9 เท่าเลยทีเดียว !!!

ดังนั้นเป็นที่แน่นอนเลยว่า การออกแบบโครงสร้างฐานรากแบบแผ่ในเขต กทม และปริมณฑลนั้นจะไม่ตอบโจทย์ในเรื่องของขนาดของค่าความกว้างที่กะทัดรัดและมีความประหยัดอย่างแน่นอนเลยทีเดียว ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมประเด็นเรื่องอื่นๆ ที่อาจจะเป็นข้อจำกัดของการใช้งานโครงสร้างฐานรากแบบแผ่ที่มีการวางตัวอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อนเหมือนในเขต กทม และปริมณฑลนะ เช่น ผลจากการเกิด CONSOLIDATION ในดิน เป็นต้น

เหมือนที่ผมมักจะพยายามที่จะทำการสื่อสารกับเพื่อนๆ อยู่บ่อยๆ ว่า เรื่องของการเลือกทำการออกแบบระบบของโครงสร้างฐานรากของอาคารหนึ่งอาคารใดนั้นเป็นสิทธิและวิจารณญาณทางด้านงานวิศวกรรมของวิศวกรผู้ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เนื่องจากวิศวกรท่านนั้นย่อมจะทราบดีว่า โครงสร้างที่กำลังทำการออกแบบอยู่นั้นมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นเช่นใด มีรูปแบบของการใช้งานเป็นแบบใด มีรูปแบบของการรับน้ำหนักเป็นแบบใด ซึ่งหน้าที่ของวิศวกรผู้ทำการออกแบบก็ย่อมที่จะต้องทำการพิจารณาถึงองค์ประกอบโดยรวมเหล่านี้ในการออกแบบอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าสาเหตุที่วิศวกรจะเลือกทำการออกแบบให้ระบบของโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นแบบแผ่หรือเป็นแบบใช้เสาเข็มนั้นก็จะเป็นการพิจารณาถึงหลายๆ ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องโดยรวม เช่น ความประหยัดและความง่ายดายในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างฐานราก ความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างฐานราก ความสามารถในการต้านทานการทรุดตัวของโครงสร้างฐานราก เป็นต้นครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#เปรียบเทียบการเลือกระบบของโครงสร้างฐานราก
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
☎️ 091-8989-561
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam