ความสำคัญของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงทางด้านข้างของดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
วันนี้ผมจะมาขออนุญาตมาตอบคำถามให้แก่แฟนเพจท่านหนึ่งที่เคยได้ให้ความกรุณาสอบถามผมเข้ามาเกี่ยวกับประเด็นๆ หนึ่งสักพักใหญ่ๆ มาแล้วแต่เนื่องด้วยภารกิจต่างๆ เลยทำให้ผมยุ่งๆ และเพิ่งจะมีเวลาที่จะมาตอบคำถามข้อนี้ให้ ซึ่งใขความของคำถามนั้นเป็นดังนี้ครับ

“รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า หากผมจะตอกเสาเข็มไมโครไพล์ลงไปในดินและก็จะใช้พื้น คอร สำเร็จรูปทำหน้าที่เป็นโครงสร้างผนังรับแรงกระทำของดินทางด้านข้างมันจะใช้งานจริงๆ ได้หรือไม่ จะต้องใช้ความยาวของโครงสร้างเสาเข็มเท่าใด จะต้องใช้พื้นคอนกรีตอัดแรง สำเร็จรูปแบบใดดี ใช้ลวดอัดแรงกี่เส้นดี”

ครั้งแรกที่ผมได้ยินคำถามข้อนี้ผมก็คิดอยู่สักครู่แล้วก็พิมพ์ตอบกลับไปในทำนองว่า “ข้อมูลที่ให้มาไม่เพียงพอ” เนื่องด้วยมันมีข้อมูลที่ต้องทราบมากกว่าที่ได้ให้มาจริงๆ เช่น สถานที่ก่อสร้างอยู่ที่แห่งหนใด ความยาวทั้งหมดของโครงสร้างกำแพงกันดินนี้เท่ากับเท่าใด ลักษณะของชั้นดินที่จะปักโครงสร้างเสาเข็มลงไปนั้นเป็นเช่นใด ลักษณะของชั้นดินที่โครงสร้างๆ นี้จะต้องทำการป้องกันนั้นเป็นดินชนิดใด ระดับความสูงของทั้งสองฝั่ง ทั้งทางด้านหน้าและทางด้านหลังของกำแพงกันดินนั้นมีขนาดที่เท่ากันหรือมีความแตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใด ลักษณะของพื้นที่ๆ อยู่ทางด้านหน้าและด้านหลังของกำแพงกันดินนี้จะต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักบรรทุกจรเป็นอย่างไร มีขนาดของน้ำหนักบรรทุกจรที่เท่าๆ กันหรือแตกต่างกันมากหรือน้อยเพียงใดและสุดท้ายมีการทดสอบคุณสมบัติของชั้นดินในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ด้วยหรือไม่ เป็นต้นนะครับ

สาเหตุที่ผมต้องถามเช่นนี้เพราะมันมีเหตุและผลในตัวของมันเอง เช่น สาเหตุที่ผมถามว่า ความยาวทั้งหมดของโครงสร้างกำแพงกันดินนี้เท่ากับเท่าใดนั้นเพราะว่า หากขนาดของความยาวไม่มาก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเลือกระบบที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างที่ไม่จำเป็นต้องมีความประหยัดมากนักเนื่องด้วยมีปริมาณของงานก่อสร้างไม่มากนัก ไม่ว่าจะเป็นระบบการก่อสร้างใดก็แทบจะไม่ได้ส่งผลต่อเรื่องของความประหยัดในการก่อสร้างอย่างมีนัยยะสำคัญอะไรขนาดนั้นแต่หากว่ามีปริมาณที่เยอะมากๆ การเลือกระบบการก่อสร้างก็อาจจะมีผลต่อการตัดสินใจขึ้นมาในทันทีเลย เป็นต้น สุดท้ายแล้วผมก็ได้ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับข้อมูลที่แฟนเพจท่านนี้ได้ให้กับผมกับผมมา ซึ่ง ณ เวลานี้ผมก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเค้าได้ดำเนินการเช่นใดกับงานก่อสร้างชิ้นนี้น่ะครับ

ประเด็นสำคัญของโพสต์ในวันนี้ที่ผมอยากจะชี้ให้เพื่อนๆ ได้เห็นก็คือ สาเหตุของการที่เรามีความจำเป็นต้องพิจารณาข้อมูลต่างๆ อย่างมากมายเวลาที่เรากำลังทำงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่มีความเกี่ยวข้องกับดินนั้นเป็นเพราะว่า หากจะถือว่า ดิน นั้นเป็นโครงสร้างอย่างหนึ่งก็ว่าได้ แต่ โครงสร้างๆ นี้มีความซับซ้อน มีรูปแบบ มีลักษณะ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่มีความไม่แน่นอนสูงมากๆ ซึ่งนอกจากตัวดินเองแล้ว สิ่งอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบก็มีผลต่องานออกแบบมากเช่นกัน เช่น หากว่าในพื้นที่ก่อสร้างนั้นมีขนาดของน้ำหนักบรรทุกจรที่ไม่เท่ากันหรือแตกต่างกันมากๆ นั่นก็แสดงว่าเรากำลังมีความเสี่ยงต่อการกระจายตัวของความเค้นในดินที่มีค่าแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ซึ่งก็อาจจะนำพาสู่วิธีในการพิจารณางานออกแบบโครงสร้างที่มีความละเอียดซับซ้อนมากขึ้นไปอีกน่ะครับ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นในเรื่องที่ผมได้ทำการสอบถามไปในคำถามสุดท้ายเกี่ยวกับเรื่องการทดสอบคุณสมบัติของชั้นดินเพราะในอดีตที่ผ่านมานั้น มักจะมีคำถามที่เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ ว่า การเจาะสำรวจชั้นดินจริงๆ นั้นให้ประโยชน์อย่างไรต่อเรา ทั้งนี้เนื่องจากผู้ที่มีความเกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโครงการเอง ผู้รับเหมาก่อสร้างเองหรือในบางครั้งก็แม้แต่ผู้ออกแบบเอง ก็มักที่จะคำนึงถึงปัจจัยทางด้านการเงินเป็นสำคัญ ทำให้ในหลายๆ ครั้งเรามองข้ามความประหยัดที่จะเกิดจากการเลือกใช้ขนาดและชนิดของโครงสร้างฐานรากที่เหมาะสมกับสภาพชั้นดินในพื้นที่ๆ จะทำการก่อสร้างไปเสียได้ ซึ่งการทดสอบคุณสมบัติของชั้นดินนั้นนอกจากที่จะช่วยลดปัญหาและอุปสรรคระหว่างการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดแล้ว ยังช่วยทำให้การก่อสร้างของเรานั้นสามารถที่จะดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่น รวดเร็ว เป็นไปตามแผนงานก่อสร้างที่ได้วางเอาไว้ ที่สำคัญที่สุดก็คือโครงสร้างจะมีความความมั่นคงแข็งแรงทนทานตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานจริงๆ เพราะการที่เราทำการเลือกใช้ระบบของโครงสร้างฐานรากที่มีความเหมาะสมกับชั้นดินนั้น นอกจากจะส่งผลทำให้โครงสร้างของเรานั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนานแล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อความประหยัดทั้งในเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายที่เราไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาจากการนั่งเทียนคาดเดาคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินที่อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งผลต่อราคาค่าก่อสร้างอย่างแน่นอนหรือกรณีที่ถือได้ว่ามีความรุนแรงมากที่สุดเลยก็คือ ทำให้สิ่งปลูกสร้างของเรานั้นเกิดการวิบัติพังทลายและเสียหายก่อนเวลาอันควรด้วยน่ะครับ

ในรูปที่ผมได้นำเอามาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้เป็น รูปตัวอย่างความเสียหายของเขื่อนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันตลิ่งและรุปแบบของการเคลื่อนตัวของดินที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างฐานรากซึ่งสุดท้ายแล้วส่งผลทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างอื่นๆ ทั้งระบบ ซึ่งผมต้องขออ้างอิงและขอขอบคุณภาพเหล่านี้จากเอกสารความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจชั้นดินที่จัดทำขึ้นโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ความสำคัญของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างที่ต้องทำหน้าที่ในการรับแรงทางด้านข้างของดิน
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447
☎️ 082-790-1448
☎️ 082-790-1449
☎️ 091-9478-945
☎️ 091-8954-269
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam